ข้อบังคับสมาคม

ข้อบังคับของสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย
ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
——————————–
ข้อความทั่วไป

ข้อ ๑ สมาคมนี้มีชื่อว่าสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (สสอท.) เรียกชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่าASSOCIATION OF PRIVATE HIGHER EDUCATION INSTITUTIONS OF THAILAND UNDER THE PATRONAGE OF HER ROYAL HIGHNESS PRINCESS MAHA CHAKRI SIRINDHORN(APHEIT)
ข้อ ๒ สำนักงานใหญ่ของสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ ตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
ข้อ ๓ เครื่องหมายของสมาคม เป็นรูปวงกลม ตรงกลางมีอักษรย่อชื่อของสมาคม ล้อมรอบด้วยดอกบัวสิบดอกชั้นนอกโดยรอบมีชื่อสมาคม ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ซึ่งได้รับพระมหากรุณา ทรงรับสมาคม ไว้ในพระราชูปถัมภ์ ดังรูป
alt

หมวด ๑
วัตถุประสงค์

ข้อ ๔ วัตถุประสงค์ของสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ มีดังต่อไปนี้
(๑) ร่วมมือและส่งเสริมการสร้างสามัคคีธรรมระหว่างสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และกับสถาบันการศึกษาอื่น
(๒) ร่วมมือและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการศึกษาแก่รัฐ หรือองค์การของรัฐ
(๓) ร่วมมือและประสานงานในการส่งเสริมด้านวิชาการ การบริหารและการปกครอง ตลอดจนการอื่นๆ ในระหว่างสถาบัน อุดมศึกษาเอกชนด้วยกัน เพื่อให้การศึกษาแก่นักศึกษาดำเนินไปโดยได้มาตรฐานและบังเกิดผลดีที่สุด
(๔) ส่งเสริมการค้นคว้า วิเคราะห์ และวิจัย เพื่อนำผลการวิจัยไปปฏิบัติและเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์
(๕) ธำรงไว้ซึ่งเกียรติและฐานะของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนให้มีคุณภาพ เพื่อให้บังเกิดความเชื่อถือศรัทธา
(๖) เผยแพร่กิจการและความเคลื่อนไหวของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนให้เป็นที่ทราบทั้งในวงการศึกษาของชาติและประชาชนทั่วไป ทั้งในและนอกประเทศ
(๗) ติดต่อ ประสานงาน ร่วมมือ ให้ หรือขอคำแนะนำ หรือความช่วยเหลือ กับ หรือจากสมาคม สถาบัน หรือองค์การการศึกษา และองค์การธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษา
(๘) ให้คำแนะนำ คำปรึกษา และให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสงค์จะก่อตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
(๙) ปฏิบัติกิจการอื่นๆ เท่าที่จำเป็นหรือเห็นสมควร เพื่อให้บรรลุถึงซึ่งวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น
(๑๐) สมาคมนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

หมวด ๒
สมาชิกและสมาชิกภาพ

ข้อ ๕ สมาชิกของสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ แบ่งออกเป็น ๓ ประเภทคือ
๕.๑ สมาชิกสามัญ ได้แก่ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่ได้รับอนุญาตจัดตั้ง จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และได้เปิดดำเนินการแล้ว
๕.๒ สมาชิกวิสามัญ ได้แก่
๕.๒.๑ สถาบันการศึกษา ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ หรือโรงเรียนซึ่งได้รับอนุมัติให้จัดตั้งแล้ว
๕.๒.๒ นิติบุคคล องค์การ หรือมูลนิธิ ที่มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริม หรือช่วยเหลือการศึกษา
๕.๓ สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่
๕.๓.๑ ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้มีเกียรติที่คณะกรรมการบริหาร เห็นสมควรเชิญเข้ามาเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์
๕.๓.๒ ผู้มีอุปการคุณต่อสมาคม ซึ่งคณะกรรมการบริหาร เห็นสมควรเชิญเข้ามาเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์
ข้อ ๖ สมาชิกสามัญ และสมาชิกวิสามัญ เมื่อได้ยื่นความจำนง สมัครเข้าเป็นสมาชิก เมื่อคณะกรรมการบริหารลงมติรับเข้าเป็นสมาชิกแล้ว จะต้องแต่งตั้งผู้แทน เพื่อมาใช้สิทธิ และทำหน้าที่ในฐานะสมาชิกของสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ ดังนี้
๖.๑ สมาชิกสามัญ ให้แต่งตั้งผู้แทน จำนวนสถาบันละไม่เกิน ๓ คน ประกอบด้วยผู้บริหารสถาบัน และผู้ดำรงตำแหน่งบริหาร อีกสถาบันละไม่เกิน ๒ คน
๖.๒ สมาชิกวิสามัญ ตามที่ระบุไว้ในข้อ ๕.๒.๑ และ ๕.๒.๒ ให้แต่งตั้งผู้แทนได้จำนวนสถาบันละ ๑ คน โดยสามารถที่จะอภิปราย แสดงความคิดเห็นและร่วมกิจกรรมของสมาคม ได้ แต่ไม่มีสิทธิออกเสียง
ข้อ ๗ ผู้แสดงความจำนง สมัครเข้าเป็นสมาชิกสามัญและสมาชิกวิสามัญ จะต้องยื่นใบสมัครต่อนายทะเบียนตามแบบที่คณะกรรมการบริหารกำหนด
ข้อ ๘ เมื่อนายทะเบียนได้รับใบสมัครแล้ว ให้ปฏิบัติตามระเบียบการพิจารณาใบสมัครตามที่กำหนดไว้เมื่อเรียบร้อยแล้ว ให้นำใบสมัคร พร้อมเอกสารประกอบการพิจารณา เสนอต่อคณะกรรมการบริหาร เพื่อพิจารณาในการประชุม ที่จะมีขึ้นในคราวต่อไป
ข้อ ๙ เมื่อคณะกรรมการบริหาร ได้ลงมติให้สมัครเข้าเป็นสมาชิกแล้ว ให้เลขาธิการแจ้งไปยังผู้สมัครเพื่อนำเงิน
ค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงƒƒ‚ มาชำระภายในกำหนด ๓๐ วัน นับแต่วันที่แจ้งไป
ข้อ ๑๐ สมาชิกภาพเริ่มต้นเมื่อ ได้ชำระเงินค่าลงทะเบียนและค่าบำรุง ตามระเบียบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และเลขาธิการจะได้นำชื่อสมาชิกใหม่ƒƒ‚ ประกาศให้สมาชิกทราบเป็นคราวๆ ไป
ข้อ ๑๑ ให้นายทะเบียนจัดให้มีสมุดทะเบียนสมาชิกไว้ ณ ที่ทำการของสมาคม สมาชิกจะขอดูสมุดทะเบียนนี้ได้ในวันและเวลาทำงานของสมาคม
ข้อ ๑๒ เมื่อมีการรับสมาชิกใหม่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับทะเบียนของสมาชิก ให้เลขาธิการประกาศให้สมาชิก
ได้ทราบทุกครั้งไป
ข้อ ๑๓ สมาชิกภาพของสมาชิก ย่อมสิ้นสุดลงเมื่อ
๑๓.๑ สำหรับสมาชิกสามัญ
๑๓.๑.๑ เลิกดำเนินกิจการสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
๑๓.๑.๒ ถูกเพิกถอนใบอนุญาตให้จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จากรัฐมนตรี
๑๓.๑.๓ ลาออก
๑๓.๑.๔ ที่ประชุมใหญ่มีมติให้ขาดจากสมาชิกภาพโดยคะแนนเสียง ที่ไม่น้อยกว่า ๓ ใน ๔ƒƒ‚ ของสมาชิกที่มาประชุม เพราะเหตุใดเหตุหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑)‚ ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของสมาคม หรือมติของที่ประชุมใหญ่
(๒)‚ มีพฤติการณ์ หรือการกระทำใด ๆ อันจะเป็นการทำลาย หรือทำความเสื่อมเสียให้แก่สมาคม หรือต่อการจัดการอุดมศึกษา
(๓)‚ ค้างชำระค่าบำรุง หรือหนี้สินแก่สมาคม เป็นระยะเวลานานกว่า ๖ เดือน หรือหลังจากที่ได้รับใบเตือนจากสมาคม ครบ ๓ ครั้งแล้ว
๑๓.๒ สำหรับสมาชิกวิสามัญ
๑๓.๒.๑ เลิกดำเนินการ สำหรับสมาชิกที่เป็นสถาบัน โรงเรียน หรือเลิกเป็นนิติบุคคลหรือองค์การสำหรับสมาชิกที่เป็นนิติบุคคล องค์การ หรือมูลนิธิ และตาย หรือสาบสูญ สำหรับสมาชิกที่เป็นบุคคลธรรมดา
๑๓.๒.๒ ลาออก
๑๓.๒.๓ ถูกศาลสั่งให้เป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถหรือล้มละลาย
๑๓.๒.๔ ต้องคำพิพากษาของศาลให้จำคุก และคดีถึงที่สุดแล้ว เว้นแต่ความผิดฐานลหุโทษ หรือฐานประมาท
๑๓.๒.๕ กรณีเช่นเดียวกับที่ระบุไว้ในข้อ ๑๓.๑.๔

หมวด ๓
สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก

ข้อ ๑๔ สมาชิกทุกประเภท มีสิทธิจะได้รับคำแนะนำƒ‚ คำปรึกษา การช่วยเหลือ ตลอดจนการสงเคราะห์ในเรื่องเกี่ยวกับการศึกษาตามวัตถุประสงค์จากสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯƒ‚ เท่าที่จะอำนวยให้ได้
ข้อ ๑๕ บุคคลที่สมาชิกจะแต่งตั้งให้เป็นผู้แทน เพื่อใช้สิทธิ์ และทำหน้าที่ในฐานะสมาชิกตามที่ระบุไว้ในข้อ ๖ จะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
๑๕.๑ สำหรับสมาชิกสามัญƒ‚ ให้ตั้งจากผู้เป็นกรรมการสภาสถาบัน เจ้าหน้าที่ระดับบริหาร หรืออาจารย์ประจำ
๑๕.๒ สำหรับสมาชิกวิสามัญ ที่เป็นสถาบัน โรงเรียน นิติบุคคล มูลนิธิƒ‚ หรือองค์การƒ‚ ให้ตั้งจากผู้อำนวยการ เจ้าของหุ้นส่วน กรรมการผู้จัดการ หรือเจ้าหน้าที่ระดับบริหาร การใช้สิทธิในฐานะเป็นผู้แทนสมาชิกนี้ ให้ถือเป็นการเฉพาะตัว
จะมอบอำนาจหรือแต่งตั้งผู้แทนตนไม่ได้ และการกระทำใดๆ ของผู้แทนให้ถือเป็นการกระทำของสมาชิกผู้นั้นโดยตรง
ข้อ ๑๖ สมาชิกทุกประเภทมีสิทธิ และหน้าที่ ดังต่อไปนี้
๑๖.๑ สิทธิในการเสนอความคิดเห็น หรือให้คำแนะนำต่อคณะกรรมการบริหาร ในเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวกับกิจการและการปฏิบัติงานของสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ เพื่อนำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้าของสมาคม และการศึกษาของชาติแต่ในกรณีที่เป็นสมาชิกวิสามัญ จะใช้สิทธิ์ออกเสียงลงคะแนนหาได้ไม่
๑๖.๒ สิทธิที่จะขอดู หรือตรวจสอบทะเบียนสมาชิก งบดุล บัญชีการเงิน ตลอดจนรายงานการประชุมใหญ่หรือจะขอทราบเรื่องราวต่างๆƒ‚ ที่เกี่ยวกับกิจการในหน้าที่ของสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ ได้ โดยยื่นข้อซักถามมายังคณะกรรมการบริหาร เป็นหนังสือ แต่คณะกรรมการบริหาร ทรงไว้ซึ่งสิทธิ ที่จะไม่ตอบก็ได้ หากเห็นว่าเรื่องนั้น ๆ ยังไม่สมควรเปิดเผย
๑๖.๓ สิทธิที่จะเข้าประชุม อภิปรายแสดงความคิดเห็น หรือซักถามกรรมการหรือเสนอญัตติในการประชุมใหญ่
ที่จัดให้มีขึ้น
๑๖.๔ สมาชิกมีหน้าที่ปฏิบัติตามมติที่ประชุมสมาคม และข้อบังคับของสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ
ข้อ ๑๗ƒ‚ สมาชิกที่ออกจากสมาชิกภาพ ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม ต้องชำระค่าบำรุงและหนี้สินที่ยังค้างอยู่ในขณะนั้นให้เสร็จสิ้นด้วย

หมวด ๔
คณะกรรมการ

ข้อ ๑๘ ให้สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ มี คณะกรรมการอำนวยการƒƒ‚ และคณะกรรมการบริหาร
เพื่อทำหน้าที่ ดังต่อไปนี้
คณะกรรมการอำนวยการ ให้มีจำนวนไม่เกิน ๗ƒ‚ คนƒ‚ ประกอบด้วย นายกสมาคม นายกรับเลือกƒƒ‚ อุปนายกคนที่ ๑ เลขาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิที่นายกสมาคมแต่งตั้งจากผู้บริหารของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่เป็นสมาชิกสมาคมƒ‚ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหาร มีหน้าที่ในการกำหนดยุทธศาสตร์ ทิศทาง วิธีการขับเคลื่อนการพัฒนาสมาคม และภารกิจอื่น
ที่คณะกรรมการบริหารมอบหมายการประชุมคณะกรรมการอำนวยการ ให้นายกสมาคมเป็นประธาน และเป็นผู้เรียกประชุม รวมถึงการกำหนดกิจกรรมอื่นใดอันจำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการอำนวยการ
คณะกรรมการบริหาร ให้มีจำนวนอย่างน้อย ๑๕ คนƒ‚ และอย่างมากไม่เกิน ๒๕ คน มีหน้าที่บริหาร ควบคุม และดูแล
กิจการทั่วไปของสมาคม
ข้อ ๑๙ƒ‚ คณะกรรมการบริหาร ประกอบด้วย ตำแหน่งต่อไปนี้ นายก อุปนายกสองคน นายกรับเลือก นายกเพิ่งพ้นวาระเลขาธิการ รองเลขาธิการƒƒƒƒƒƒƒƒ‚ เหรัญญิก นายทะเบียน ปฏิคม หากคณะกรรมการบริหารเห็นสมควรจะกำหนดให้มีƒ‚ และแต่งตั้งบุคคลใดให้ดำรงตำแหน่งอื่นนอกเหนือจากนี้ƒ‚ ก็ให้ทำได้
ข้อ ๒๐ƒ‚ การเลือกผู้ดำรงตำแหน่ง นายก อุปนายก นายกรับเลือก ให้ผู้แทนสมาชิกสามัญ สถาบันละ ๑ เสียง ที่เข้าประชุมเลือกตั้งจาก อธิการบดีของสถาบันสามัญสมาชิกที่ได้รับการเสนอชื่อ
ในบังคับแห่งข้อ ๑๘ƒ‚ ให้นายก เป็นผู้เลือกผู้บริหารสถาบันสามัญสมาชิกตั้งแต่ระดับคณบดีหรือเทียบเท่าขึ้นไปหรือผู้แทนสามัญสมาชิกเป็นกรรมการบริหารเพื่อช่วยงานได้ไม่เกิน ๓ คน ทั้งนี้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงความในวรรค ๔
การเลือกกรรมการบริหาร นอกเหนือจากวรรค ๑ และวรรค ๒ƒ‚ เพื่อให้ครบจำนวน ตามข้อ ๑๘ ให้เลือกจากผู้แทนสามัญสมาชิก โดยมติเสียงข้างมากของผู้แทนสามัญสมาชิกที่เข้าประชุม สถาบันละ ๑ เสียง
ผู้แทนสามัญสมาชิกแต่ละสถาบันƒ‚ อาจได้รับเลือกตั้งให้เป็นกรรมการบริหาร ได้ไม่เกิน ๒ คน ทั้งนี้ƒ‚ ไม่รวมตำแหน่งนายก
ข้อ ๒๑ƒ‚ ให้คณะกรรมการอำนวยการƒ‚ และคณะกรรมการบริหาร อยู่ในตำแหน่งได้วาระหนึ่ง ไม่เกินสองปี นายกรับเลือก จะทำหน้าที่เป็นนายกสมาคม เมื่อนายกสมาคมคนเดิมปฏิบัติหน้าที่ครบวาระแล้ว ในกรณีที่นายกสมาคมไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่จนครบวาระได้ ให้คณะกรรมการบริหารทำการเลือกอุปนายกคนที่ ๑ เข้าดำรงตำแหน่งนายกแทนไปจนกว่าจะครบวาระ โดยให้อุปนายกคนที่ ๒ เลื่อนขึ้น เป็นอุปนายกคนที่ ๑ƒ‚ และให้ที่ประชุมใหญ่สามัญเลือกตั้งอุปนายกอีกคนหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นอุปนายกคนที่ ๒ ไปจนครบวาระ เว้นแต่ระยะเวลาตามวาระนั้น จะเหลือไม่ถึง ๑ƒ‚ ปี
ในกรณีนายกรับเลือก ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ ให้ทำการเลือกนายกรับเลือกคนใหม่ ขึ้นมาทำหน้าที่แทนทันที กรรมการอำนวยการ และกรรมการบริหารย่อมพ้นตำแหน่งเมื่อ
๒๑.๑ ลาออก
๒๑.๒ พ้นจากการเป็นผู้บริหารสถาบัน ในกรณีของนายก หรือนายกรับเลือกƒƒƒƒƒƒƒƒ‚ หรืออุปนายก
๒๑.๓ พ้นจากการเป็นผู้แทนสมาชิกสามัญ
๒๑.๔ ที่ประชุมใหญ่ลงมติให้พ้นจากตำแหน่ง ด้วยคะแนน ๓ ใน ๔ ของสมาชิกที่เข้าประชุม
๒๑.๕ ถึงคราวออกตามวาระ
๒๑.๖ เมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสามัญที่ตนเป็นผู้แทนอยู่ สิ้นสุดตาม ข้อ ๑๓.๑
ข้อ ๒๒ ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการบริหารว่างลงก่อนถึงกำหนดตามข้อ ๒๑ คณะกรรมการบริหารอาจแต่งตั้งผู้แทนสมาชิกสามัญคนหนึ่งคนใด ให้ดำรงตำแหน่งแทนได้ แต่กรรมการบริหารที่ได้รับแต่งตั้งตามกรณีนี้ จะอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาของผู้ที่ตนได้รับแต่งตั้งแทนเท่านั้น
ข้อ ๒๓ คณะกรรมการบริหาร มีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการของสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ ตามความในข้อบังคับนี้ƒƒ‚ และมีอำนาจออกคำสั่ง ระเบียบ หรือกำหนดวิธีดำเนินงานของสมาคม ได้
ข้อ ๒๔ คณะกรรมการบริหารมีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนเจ้าหน้าที่ของสมาคม ได้ตามที่เห็นสมควร
ข้อ ๒๕ คณะกรรมการบริหารมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการ เพื่อให้มีหน้าที่ หรือดำเนินการในเรื่องหนึ่งเรื่องใด อันเกี่ยวกับงานหรือกิจการของสมาคมก็ได้ คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการนี้ จะมีกี่คณะก็สุดแล้วแต่คณะกรรมการบริหารจะเห็นสมควร
ข้อ ๒๖ คณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการ ที่คณะกรรมการบริหาร จะแต่งตั้งขึ้นนี้ จะแต่งตั้งจากสมาชิก หรือบุคคลภายนอกก็ได้ แต่ประธานคณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการ จะต้องแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริหาร หรือสมาชิกสามัญ และให้คณะกรรมการ หรือคณะ อนุกรรมการนี้ อยู่ในตำแหน่งได้เท่ากับอายุของกรรมการบริหารหรือตามระยะเวลาที่คณะกรรมการบริหารกำหนดหรือเมื่องานที่ได้รับมอบหมาย เสร็จสิ้นลง
ข้อ ๒๗ คณะกรรมการบริหารมีอำนาจถอดถอนคณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการทั้งชุด หรือเฉพาะบางคนก็ได้ และ
มีอำนาจกำหนดหน้าที่ ตลอดจนวิธีดำเนินงานให้คณะกรรมการปฏิบัติได้ตามที่เห็นสมควร
ข้อ ๒๘ ให้มีการประชุมคณะกรรมการบริหาร และการประชุมสามัญสมาชิก อย่างน้อย ๒ เดือนต่อครั้ง โดยให้จัดการประชุมคณะกรรมการบริหาร และการประชุมสามัญสมาชิก สลับเดือนกัน
หากมีเหตุสมควรให้นายกสมาคม เรียกประชุมคณะกรรมการบริหาร หรือสามัญสมาชิกเป็นกรณีพิเศษได้
ให้ส่งรายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร ให้สมาชิกสามัญทราบทุกครั้ง
ข้อ ๒๙ การประชุมคณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ ให้เป็นหน้าที่ของประธานคณะกรรมการ หรืออนุกรรมการ ชุดนั้นๆ เป็นผู้เรียกประชุมในเมื่อเห็นสมควร
อนึ่ง นายกสมาคม อาจขอให้ประธานคณะกรรมการ หรือประธานคณะอนุกรรมการเรียกประชุมคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการชุดของตน เมื่อมีเหตุสมควรก็ได้
ข้อ ๓๐ การประชุมคณะกรรมการบริหารก็ดี การประชุมคณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการก็ดี ต้องมีกรรมการ หรืออนุกรรมการ มาประชุมไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการ หรืออนุกรรมการทั้งหมด จึงจะถือเป็นองค์ประชุม
ข้อ ๓๑ การลงมติวินิจฉัยข้อปัญหาหรือกิจการใดๆ ถ้าในข้อบังคับนี้มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นมติ ถ้าจำนวนคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงชี้ขาด
ข้อ ๓๒ ในการประชุมคณะกรรมการบริหาร ให้นายกเป็นประธานที่ประชุม และในการประชุมคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ ให้ประธานคณะกรรมการ หรือประธานคณะอนุกรรมการ เป็นประธานในที่ประชุม ถ้านายกหรือประธานกรรมการ หรือประธานอนุกรรมการไม่มาประชุม ให้อุปนายกหรือรองประธานกรรมการ หรือรองประธานอนุกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าอุปนายก หรือรองประธานกรรมการƒ‚ หรือรองประธานอนุกรรมการไม่มาประชุม ให้เลือกกรรมการ หรืออนุกรรมการคนหนึ่ง
ƒ‚ขึ้นเป็นประธานในที่ประชุมคราวนั้น
ข้อ ๓๓ การพ้นตำแหน่งของกรรมการ หรืออนุกรรมการ ให้ถือปฏิบัติตามข้อ ๒๑ โดยอนุโลม

หมวด ๕
การประชุมใหญ่

ข้อ ๓๔ การประชุมใหญ่โดยปกติเรียกว่า การประชุมใหญ่สามัญ ให้มีปีละหนึ่งครั้งภายในเดือนกรกฎาคม ของทุกปี
การประชุมใหญ่สามัญเพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสมาคมชุดใหม่ มีกำหนดทุก ๒ ปี และเริ่มปฏิบัติงานภายใน ๓๐ วัน นับจากวันรับเลือกตั้ง
ข้อ ๓๕ การประชุมใหญ่เป็นพิเศษให้กระทำได้ หากนายกเห็นสมควร หรือกรรมการบริหาร ตั้งแต่ ๓ คนขึ้นไป ขอร้องให้เรียกประชุมเป็นลายลักษณ์อักษร การประชุมพิเศษนี้ให้เรียกว่า การประชุมใหญ่วิสามัญ
ข้อ ๓๖ ให้สมาชิกส่งผู้แทนของสถาบันๆ ละไม่เกิน ๓ คน เข้าร่วมประชุมใหญ่ สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็น
ในแต่ละเรื่องโดยเท่าเทียมกัน แต่ในกรณีที่จะต้องมีการออกเสียงลงคะแนนให้สมาชิกผู้แทนของแต่ละสถาบันออกเสียงลงคะแนนได้สถาบันละ ๑ เสียง
ข้อ ๓๗ หากสมาชิกของสมาคมรวมกันมีจำนวนไม่ต่ำกว่า ๑ ใน ๕ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด เห็นควรเรียกให้มีการประชุมใหญ่ ก็อาจทำได้ โดยยื่นคำร้องต่อนายกให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญ เมื่อนายกได้รับคำร้อง และเห็นว่ามีเหตุผลสมควรก็ให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญได้ ภายในเวลาไม่เกิน ๒๐ วัน นับแต่วันได้รับคำร้อง ถ้านายกเห็นว่าไม่มีเหตุอันสมควรเพียงพอที่จะเรียกประชุมใหญ่ ก็ให้แจ้งให้สมาชิกที่ยื่นคำร้องทราบ ภายใน ๑๐ วัน นับแต่วันได้รับคำร้อง การชี้ขาดของนายกให้ถือเป็นที่สุด
ข้อ ๓๘ ในการประชุมใหญ่สามัญหรือวิสามัญ ต้องมีสมาชิกสามัญมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด จึงจะถือเป็นองค์ประชุม
การประชุมใหญ่ไม่ว่าคราวใด ถ้าสมาชิกมาไม่ครบองค์ประชุม และถ้าการประชุมนั้นได้เรียกนัดโดยสมาชิกร้องขอก็ให้เลิกการประชุมเลย แต่ถ้าเป็นการประชุมที่มิใช่เพราะสมาชิกร้องขอ ก็ให้คณะกรรมการบริหารเรียกนัดประชุมใหม่อีกครั้งหนึ่ง ภายในสี่สิบวันการประชุมครั้งหลังนี้ไม่ว่าสมาชิกจะมาประชุมมากน้อยเพียงใด ให้ถือเป็นองค์ประชุมได้
ข้อ ๓๙ คณะกรรมการบริหารจะต้องส่งหนังสือบอกกล่าวการประชุมใหญ่ ไปยังสมาชิกทุกคน โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ณ ที่อยู่ของสมาชิกที่ปรากฏอยู่ในทะเบียนƒƒƒƒƒƒƒƒ‚ หรือจัดส่งตรงให้ถึงตัวสมาชิก ทางโทรสาร จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย ไม่น้อยกว่า ๒ ฉบับ และไม่น้อยกว่า ๓ ครั้ง ก่อนการประชุมใหญ่ไม่น้อยกว่า ๗ วัน
ในหนังสือบอกกล่าวการประชุมที่ส่งให้สมาชิก หรือประกาศในหนังสือพิมพ์ ให้ระบุสถานที่ วัน เวลาƒ‚ และระเบียบวาระการประชุมให้ชัดแจ้งด้วย
ข้อ ๔๐ ในการประชุมใหญ่ ให้นายกเป็นประธานที่ประชุม ถ้านายกไม่มาประชุมก็ให้อุปนายกเป็นประธานที่ประชุมแทนถ้า อุปนายก ไม่มาประชุม ให้คณะกรรมการบริหาร เลือกกรรมการคนหนึ่งคนใดที่มาประชุมทำหน้าที่เป็นประธานที่ประชุมในคราวนั้น
ข้อ ๔๑ ในการประชุมใหญ่ไม่ว่าคราวใด ที่ประชุมอาจมีมติให้เลื่อนการประชุมไปในวันหรือเวลาอื่นก็ได้ แต่ในที่ประชุม
ที่เลื่อนมานั้น หากมีกิจการอื่นใดนอกจากกิจการที่ค้างมาจากการประชุมคราวก่อน และที่ประชุมใหญ่มีความประสงค์จะพิจารณาปรึกษาในกิจการอื่นนั้น ให้กระทำได้โดยมติของที่ประชุม
ข้อ ๔๒ ภายใต้ข้อบังคับ ข้อƒ‚ ๑๖.๔ การออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมใหญ่ โดยปกติให้ใช้วิธีลงคะแนนเปิดเผยด้วยการ
ชูมือ เว้นแต่สมาชิกสามัญไม่น้อยกว่า ๑ใน ๔ƒ‚ ของจำนวนสมาชิกที่มาประชุม ขอให้ลงคะแนนลับ ก็ให้ลงคะแนนลับ การลงคะแนนลับกระทำโดยวิธีใดให้เป็นไปตามที่ที่ประชุมจะวินิจฉัย
สมาชิกผู้ใดมีส่วนได้เสียเป็นพิเศษในเรื่องใด ซึ่งที่ประชุม จะต้องลงมติชี้ขาดƒ‚ สมาชิกผู้นั้นจะต้องออกจาก
ที่ประชุม จะออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนั้นมิได้ ข้อความนี้ยกเว้นมิให้ใช้บังคับในกรณีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหาร
ข้อ ๔๓ ในการออกเสียงลงคะแนนนั้น มิให้ผู้ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมออกเสียงลงคะแนนด้วย เว้นแต่ในกรณีที่คะแนนเสียงเท่ากัน จึงให้ประธานที่ประชุมออกเสียงลงคะแนนเป็นเสียงชี้ขาด
ข้อ ๔๔ กิจการอันต้องกระทำในที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี ให้มีดังนี้
๔๔.๑ รับรองรายงานการประชุมคราวก่อน
๔๔.๒ƒƒ‚ คณะกรรมการบริหารรายงานกิจการของสมาคม ที่ได้กระทำมาในรอบปีที่ผ่านมา
๔๔.๓ พิจารณาอนุมัติงบการเงิน
๔๔.๔ แต่งตั้งผู้สอบบัญชีและกำหนดค่าตอบแทน
๔๔.๕ พิจารณาข้อเสนอของคณะกรรมการบริหาร (ถ้ามี)
๔๔.๖ พิจารณาญัตติของสมาชิก (ถ้ามี)
๔๔.๗ เลือกตั้งคณะกรรมการบริหาร (เฉพาะในปีที่คณะกรรมการบริหาร มีอายุครบวาระ)
๔๔.๘ เรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี)

หมวด ๖
ค่าลงทะเบียนและค่าบำรุง

ข้อ ๔๕ จำนวนเงินค่าลงทะเบียนและค่าบำรุง ซึ่งสมาชิกสามัญและสมาชิกวิสามัญ จะต้องชำระนั้น ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารกำหนด
ข้อ ๔๖ ในกรณีที่สมาคม จัดดำเนินกิจการใดเพื่อประโยชน์ของสมาคมƒ‚ หรือประโยชน์ของผู้อื่นใด ที่มีเหตุผลสมควร คณะกรรมการอาจสั่งหรือกำหนดระเบียบเรียกเก็บค่าใช้จ่าย หรือค่าธรรมเนียม หรือค่าบริจาคจากสมาชิกสำหรับกิจการนั้น ๆ ได้

หมวด ๗
บัญชี – การเงิน – และงบการเงิน

ข้อ ๔๗ ให้เหรัญญิกของสมาคมƒ‚ เป็นผู้มีหน้าที่รับจ่ายเงินตามระเบียบที่กำหนดไว้ และจัดให้มีสมุดบัญชีต่างๆ ที่จำเป็นไว้ให้ครบถ้วน เหรัญญิกจะต้องจัดทำบัญชีงบดุล เสนอที่ประชุมกรรมการƒ‚ พร้อมทั้งหลักฐานประกอบทุกเดือน
เหรัญญิกจะต้องดูแลรักษาเงิน สมุดบัญชี และเอกสารประกอบบัญชีและการเงินของสมาคม ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยและปลอดภัยอยู่เสมอ
ข้อ ๔๘ การจ่ายเงิน อันเป็นการจ่ายประจำ หรือการจ่ายอันเป็นปกติธุระของสมาคม ให้เป็นหน้าที่ของเหรัญญิก แต่การจ่ายเงินในกรณีพิเศษ หรือการจ่ายเงินที่มีจำนวนเกินกว่า ๕,๐๐๐ บาท นั้น ให้ขออนุมัติจากคณะกรรมการบริหารก่อน และในกรณีที่ต้องมีการจ่ายเป็นการจำเป็นและรีบด่วน แต่ไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท ให้นายกหรืออุปนายก มีอำนาจสั่งจ่ายได้โดยความเห็นชอบของกรรมการบริหาร ไม่น้อยกว่า ๓ คน และให้นำเสนอกรรมการบริหาร เพื่อทราบในการประชุมครั้งต่อไป
ข้อ ๔๙ การสั่งจ่ายเงินจากสถาบันการเงิน ให้นายกหรืออุปนายก ลงลายมือชื่อร่วมกับเหรัญญิก พร้อมทั้งประทับตราสมาคม ลงในเช็คหรือใบสั่งจ่ายด้วย
ข้อ ๕๐ ให้คณะกรรมการบริหาร จัดทำงบการเงินประจำปีของสมาคม แล้วส่งให้ผู้สอบบัญชี ทำการตรวจสอบให้แล้วเสร็จก่อนวันประชุมใหญ่สามัญประจำปี ให้ถือเอาวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันสิ้นปีการเงินของสมาคม
ข้อ ๕๑ ให้คณะกรรมการบริหาร ส่งสำเนางบการเงิน ที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบรับรองแล้ว กับหนังสือบอกกล่าวการเรียกประชุมใหญ่ พร้อมทั้งรายงานกิจการประจำปี ไปยังสมาชิกก่อนการประชุมใหญ่ ไม่น้อยกว่า ๗ วัน
ข้อ ๕๒ ให้ผู้สอบบัญชีของสมาคม มีอำนาจเข้าตรวจสอบบัญชี เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเงินของสมาคม ได้ และมีสิทธิ์สอบถามกรรมการ อนุกรรมการ และพนักงานเจ้าหน้าที่ทุกคนของสมาคม ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบัญชีหรือเอกสารนั้น ๆได้ตามควรแก่กรณี
ข้อ ๕๓ ที่ประชุมใหญ่เป็นผู้แต่งตั้งผู้สอบบัญชีของสมาคม พร้อมทั้งกำหนดอัตราค่าวิชาชีพ ผู้สอบบัญชีอยู่ในตำแหน่งคราวละ ๑ ปี

หมวด ๘
ธรรมาภิบาล

ข้อ ๕๔ การบริหารจัดการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และอย่างมีธรรมาภิบาลตามหลักกฎหมาย มีคุณธรรม มีความโปร่งใส การมีส่วนร่วม มีความรับผิดชอบ และคุ้มค่า
ข้อ ๕๕ สมาชิกสมาคมฯ จะต้องตระหนักในเกียรติ ศักดิ์ศรีและคุณค่าของการเป็นสมาชิก €œสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี€
ข้อ ๕๖ สมาชิกต้องบริหารจัดการศึกษาอย่างมีธรรมาภิบาล และไม่ทำให้สมาคมฯ เสื่อมเสียชื่อเสียงและเกียรติคุณ
หากสมาชิกรายใดมีพฤติการณ์หรือการกระทำจนเป็นที่ประจักษ์แก่สังคม คณะกรรมการบริหารสมาคม ชอบที่จะพิจารณาสถานภาพของสมาชิกรายนั้น ตามข้อ ๑๓.๑.๔

หมวด ๙
การแก้ไขข้อบังคับ

ข้อ ๕๗ การแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมข้อบังคับนี้ จะกระทำได้โดยคณะกรรมการบริหาร เป็นผู้เสนอทางหนึ่ง หรือสมาชิกสามัญรวมกันไม่ต่ำกว่า ๑ ใน ๔ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด เสนอญัตติ ขอแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติม และที่ประชุมใหญ่ จะต้องลงมติให้แก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมด้วยคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่า ๒ ใน ๓ ของจำนวนสมาชิกสามัญที่มาประชุม จึงจะใช้ได้
ข้อ ๕๘ การเสนอขอให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงƒ‚ หรือเพิ่มเติมข้อบังคับนี้ ไม่ว่าจะมาจากทางใดƒ‚ ให้คณะกรรมการบริหารแจ้งให้สมาชิกทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมกับหนังสือนัดประชุม ก่อนวันประชุมใหญ่ไม่น้อยกว่า ๗ วัน
ข้อ ๕๙ ข้อบังคับนี้ ให้มีผลใช้บังคับได้ นับแต่วันที่สมาคม ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้เป็นสมาคม

หมวด ๑๐
การเลิกสมาคม

ข้อ ๖๐สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ ตั้งขึ้นโดยไม่มีกำหนดเวลา
ข้อ ๖๑ถ้าสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ ต้องเลิกไปไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม ให้ทำการชำระบัญชีตามกฎหมาย เมื่อทำการชำระบัญชีแล้ว หากมีทรัพย์สินเหลืออยู่เท่าใดก็ตาม ให้จัดตั้งเป็นมูลนิธิ เพื่อให้เป็นทุนการศึกษาของนักศึกษาที่เรียนอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนต่อไป

_______________________________