-ร่าง-
ประกาศคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
เรื่อง กำหนดขอบเขตการให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาประจำปีการศึกษา 2559
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 18 (7) และมาตรา 44 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืม เพื่อการศึกษา พ.ศ.2541 คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงขอประกาศกำหนดขอบเขตการให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา ประเภทวิชา โรงเรียน สถานศึกษา หรือสถาบันการศึกษา ระดับชั้นการศึกษา และหลักสูตรที่จะให้นักเรียนหรือนักศึกษากู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1. นักเรียน นักศึกษาที่มีสิทธิกู้ยืมเงินตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2541 ต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตามประกาศคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เรื่องหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็น ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และคุณสมบัติของผู้กู้ยืมเงิน และเป็นผู้ที่ศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (สายสามัญและสายอาชีพ) และนักศึกษาระดับอุดมศึกษา (อนุปริญญา/ปริญญาตรี) ทั้งภาคปกติ ภาคพิเศษ รวมทั้งการศึกษาประเภทอาชีวศึกษา (ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง อนุปริญญา ปริญญาตรี)
ข้อ 2. การให้กู้ยืมเงินในปีการศึกษา 2559 ให้กู้ยืมได้ ไม่เกินขอบเขตของแต่ละรายการที่กำหนดไว้ ดังนี้
ระดับการศึกษา/สาขาวิชา |
ค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา บาท/ราย/ปี |
ค่าครองชีพ บาท/ราย/ปี |
รวม บาท/ราย/ปี |
1. มัธยมศึกษาตอนปลาย |
14,000 |
13,200 |
27,200 |
2. ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) |
21,000 |
26,400 |
47,400 |
3. ปวท./ปวส. 3.1 พาณิชยกรรมหรือบริหารธุรกิจ ศิลปหัตถกรรมหรือศิลปกรรม เกษตรกรรมหรือเกษตรศาสตร์ ประมง สิ่งทอ คหกรรมหรือคหกรรมศาสตร์ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว |
25,000 |
26,400 |
51,400 |
3.2 ช่างอุตสาหกรรมหรืออุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสาร ทัศนศาสตร์ และวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
30,000 |
26,400 |
56,400 |
ระดับการศึกษา/สาขาวิชา |
ค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา บาท/ราย/ปี |
ค่าครองชีพ บาท/ราย/ปี |
รวม บาท/ราย/ปี |
4. อนุปริญญา/ปริญญาตรี 4.1 สังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ 4.1.1 สาขาที่ขาดแคลนและ/หรือเป็นความต้องการของตลาดแรงงาน ได้แก่ บัญชี เศรษฐศาสตร์ สารสนเทศ นิติศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม โลจิสติกส์ อุตสาหกรรมบริการ ธุรกิจอุตสาหกรรม และธุรกิจการบิน 4.1.2 สาขาอื่น ๆ นอกจาก 4.1.1 4.2 ศิลปกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ 4.3 วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 4.4 เกษตรศาสตร์ 4.5 สาธารณสุขศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ เภสัชศาสตร์ 4.6 แพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ |
60,000 50,000 70,000 70,000 70,000 90,000 200,000 |
26,400 26,400 26,400 26,400 26,400 26,400 26,400 |
86,400 76,400 96,400 96,400 96,400 116,400 226,400 |
ข้อ 3. เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาให้จ่ายตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
3.1 เงินกู้ยืมที่จ่ายเข้าบัญชีของสถานศึกษา ได้แก่ ค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา ดังนี้
3.1.1 ค่าเล่าเรียน หมายความรวมถึง ค่าเล่าเรียน ค่าบำรุงการศึกษา ค่าหน่วยกิต และค่าธรรมเนียมการศึกษา ที่จ่ายตามภาคหรือปีการศึกษาที่สถานศึกษาเรียกเก็บ
3.1.2 ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สถานศึกษาเรียกเก็บตามที่ ต้นสังกัด หรือสภาสถาบันอนุมัติให้เรียกเก็บได้นอกเหนือจากข้อ 3.1.1
3.2 เงินกู้ยืมที่จ่ายเข้าบัญชีของนักเรียน นักศึกษา ผู้กู้ยืมเงิน ได้แก่ ค่าครองชีพ ซึ่งหมายถึง ค่าที่พักและค่าใช้จ่ายส่วนตัวของนักเรียน นักศึกษา โดยเป็นการให้กู้ยืมเต็มตามวงเงินที่กำหนดไว้ให้ในแต่ละรายและในแต่ละระดับชั้นการศึกษา
ข้อ 4. การพิจารณาคัดเลือกนักเรียน นักศึกษาผู้มีสิทธิกู้ยืมเงิน ให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาว่าด้วย การดำเนินงาน หลักเกณฑ์ และวิธีการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ 5. การพิจารณาคัดเลือกนักเรียน นักศึกษาผู้มีสิทธิกู้ยืมเงิน ให้ดำเนินการ ดังนี้
5.1 นักเรียน นักศึกษาที่เป็นผู้กู้ยืมเงินรายใหม่ ให้สถานศึกษาพิจารณาคัดเลือกตามจำนวนคนและจำนวนเงินที่ได้รับการจัดสรรจากกองทุน โดยคัดเลือกจากผู้กู้ยืมที่ยื่นแบบคำขอกู้ยืมเงินผ่านระบบ e-Studentloan ภายในกำหนดเวลาเท่านั้น
5.2 นักเรียน นักศึกษาที่เป็นผู้กู้ยืมเงินรายเก่า ให้สถานศึกษาพิจารณาคัดเลือกตามจำนวนคนและจำนวนเงินที่ได้รับการจัดสรรจากกองทุน โดยคัดเลือกจากผู้กู้ยืมที่ยื่นแบบคำขอกู้ยืมเงินหรือยื่นคำยืนยันการขอกู้ยืมเงิน ผ่านระบบ e-Studentloan ภายในกำหนดเวลาเท่านั้น ตามลำดับ ดังนี้
5.2.1 ผู้กู้ยืมเงินรายเก่า ซึ่งได้ศึกษาต่อเนื่องในระดับการศึกษาเดิมหรือเปลี่ยนระดับการศึกษา
5.2.2 ผู้กู้ยืมเงินรายเก่า ซึ่งไม่ได้ศึกษาต่อเนื่องเป็นเวลาไม่เกินสองปี (ยังไม่ครบกำหนด ชำระหนี้) แต่ได้กลับเข้าศึกษาต่อในระดับการศึกษาเดิม
5.2.3 ผู้กู้ยืมเงินรายเก่า ซึ่งไม่ได้ศึกษาต่อเนื่องเป็นเวลาเกินกว่าสองปีขึ้นไป (ครบกำหนด ชำระหนี้แล้ว) ให้พิจารณาเป็นลำดับสุดท้าย
“ศึกษาต่อเนื่อง” หมายถึง นักเรียน นักศึกษา ผู้กู้ยืมเงินได้ลงทะเบียนเรียนทุกปีการศึกษา
ข้อ 6. การกู้ยืมค่าเล่าเรียนตามข้อ 3.1.1 สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่ศึกษาอยู่ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กู้ยืมได้ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
6.1 ผู้กู้ยืมเงินที่ศึกษาในสถาบันการศึกษาของรัฐไม่อนุมัติให้กู้ยืมค่าเล่าเรียน เว้นแต่เป็น ค่าเล่าเรียนที่ได้รับอนุมัติจากต้นสังกัดให้เรียกเก็บ
6.2 ผู้กู้ยืมเงินที่ศึกษาในสถาบันการศึกษาของเอกชน ให้กู้ยืมค่าเล่าเรียนเฉพาะในส่วนที่รัฐไม่ได้อุดหนุน ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราที่กำหนดตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
6.3 ผู้กู้ยืมเงินที่ศึกษาในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาเฉพาะทางของหน่วยงานอื่นที่ไม่ได้สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ หากไม่ได้ขอรับเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายบุคคลจากรัฐ อนุมัติให้กู้ยืมค่าเล่าเรียนได้ตามความเป็นจริง โดยเมื่อรวมกับค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาแล้วต้องไม่เกินขอบเขตที่กำหนด
ประกาศ ณ วันที่ พ.ศ. 2559
(นายสมชัย สัจจพงษ์)
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา