รายงานความคืบหน้า กยศ. ประจำเดือนพฤษภาคม 2559

รายงานความคืบหน้า กยศ. ประจำเดือนพฤษภาคม 2559

โดย ผศ. ดร. ประดิษฐ์ เถกิงรังสฤษดิ์

  1. ความคืบหน้าร่างพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อการศึกษา พ.ศ. ….

1.1    สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้นำเสนอร่างพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อการศึกษา พ.ศ. …. ต่อคณะกรรมการกฤษฎีกา (พิเศษ) เพื่อพิจารณา ประกอบด้วย

                                1. ศาสตราจารย์ ดร. พนัส สิมะเสถียร (อดีตปลัดกระทรวงการคลัง)

                                2. ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร (อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ)

                                3. ดร.คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา (อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ)

                                4. คุณกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ (สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ )

                                5. นายชีพ จุลมนต์ (รองประธานศาลฎีกา)

                                6. นายมนัส แจ่มเวหา (อธิบดีกรมบัญชีกลาง)

                                7. รองศาสตราจารย์สุดา วิศรุตพิชญ์

                                8. นายสุรพล  นิติไกรพจน์  (อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

                                9. คุณพรทิพย์ จาละ (สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ)

1.2    คณะกรรมการกฤษฎีกา (พิเศษ) ได้ประชุมไปแล้ว 2 ครั้ง โดยมีความเห็นว่า น่าจะใช้ชื่อ พรบ. นี้ว่า “พรบ. กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. …”

1.3    ควรกำหนดให้กฎหมายมีผลใช้บังคับตามหลักการของยกร่างกฎหมายอื่น เช่น “พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป”

1.4    พรบ. ฉบับนี้น่าจะมีผลบังคับใช้ในปีการศึกษา 2560 เป็นต้นไป

  1. การดำเนินงาน “โครงการ “กยศ. กรอ. เพื่อชาติ”

2.1    จำนวนองค์กรนายจ้างที่ตอบรับเข้าร่วมโครงการแล้ว (ข้อมูล ณ วันที่ 17 พฤษภาคม 2559) รวมทั้งสิ้น 181 หน่วยงาน จำแนกเป็น

2.1.1           องค์กรนายจ้างต้นแบบ จำนวน 6 หน่วยงาน

2.1.2           องค์กรนายจ้างภาครัฐ จำนวน 48 หน่วยงาน

2.1.3           หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ จำนวน 36 หน่วยงาน

2.1.4           หน่วยงานรัฐอื่นๆ จำนวน 2 หน่วยงาน

2.1.5           สถานศึกษา จำนวน 14 หน่วยงาน

2.1.6           หน่วยงานเอกชน จำนวน 75 หน่วยงาน

  1. แผนการมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อรองรับ พรบ. ฉบับใหม่

3.1    ปรับปรุงระบบ e-Studentloan ปัจจุบัน ในส่วนของกองทุนฯ และผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม (บมจ. ธนาคารกรุงไทยและธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย) เพื่อรองรับการให้กู้ยืมเงินในปีการศึกษา 2560                       จำนวน 4 ประเภท ได้แก่

  1. เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้แก่นักเรียน/นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์
  2. เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้แก่นักเรียน/นักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลัก ซึ่งมีความชัดเจนของการผลิตกำลังคนและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ
  3. เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้แก่นักเรียน/นักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาขาดแคลนหรือสาขาที่กองทุนมุ่งส่งเสริมเป็นพิเศษ
  4. เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้แก่นักเรียน/นักศึกษาเป็นทุนเรียนดีเพื่อสร้างความเป็นเลิศ

3.2    กองทุนฯ ได้จัดทำแผนการมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเป็นการรองรับการดำเนินงาน                     ตามร่าง พ.ร.บ. ใหม่

3.2.1           ปี 2559-2560 ปรับปรุงระบบ e-Studentloan ปัจจุบัน เพื่อรองรับการให้กู้ยืม จำนวน 4 ประเภทตามร่าง พ.ร.บ. ใหม่ ในปีการศึกษา 2560

3.2.2           ปี 2559 – 2561 ออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่เพื่อรองรับร่าง พ.ร.บ. ใหม่ในปีการศึกษา 2561

  • ปี 2559 – 2560 การออกแบบระบบเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่
  • ปี 2560 – 2561 พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อรองรับร่าง พ.ร.บ.ใหม่
  1. การจัดจ้างบริษัทเพื่อดำเนินงานติดตามหนี้ ประจำปีงบประมาณ 2559

4.1    อนุมัติให้กองทุนฯ จัดจ้างบริษัทติดตามหนี้ ประจำปีงบประมาณ 2559 จำนวน 29 ราย โดยมีวงเงินค่าจ้างรวมทั้งสิ้น 430,814,975.21 บาท

4.2    มอบอำนาจให้ผู้จัดการกองทุนฯ เป็นผู้ลงนามสัญญา การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา การต่ออายุสัญญา การขยายเวลาทำการและการงดหรือลดค่าปรับ การเลิกสัญญา รวมทั้งการอนุมัติจ่ายเงินตามผลการตรวจรับสำหรับงานจ้างติดตามหนี้ที่ได้รับอนุมัติ

  1. รายงานผลการดำเนินงานกองทุน กยศ. ประจำปีการศึกษา 2558 ณ วันที่ 30 เมษายน 2559

5.1    คณะกรรมการกองทุนได้อนุมัติกรอบวงเงินจัดสรรสำหรับการให้กู้ยืม ประจำปีการศึกษา 2558 จำนวนทั้งสิ้น 30,570.57 ล้านบาท สำหรับผู้กู้ยืม จำนวน 738,452 คน โดยมีนักเรียน นักศึกษายื่นคำขอกู้ยืมจำนวน 746,200 คนและมีผลการให้กู้ยืมจำนวน 626,849 คน หรือร้อยละ 84.88 คิดเป็นเงินกู้ยืมจำนวน 25,459.82 ล้านบาทหรือร้อยละ 83.28 ของกรอบการจัดสรร

5.2    การชำระหนี้

กองทุนฯ มีผู้กู้ยืมจำนวนทั้งสิ้น 4,626,658ราย จำแนกเป็น (1) ผู้กู้กำลังศึกษา หรือ อยู่ในช่วงปลอดหนี้ 2 ปี จำนวน 1,092,932คน (2) ผู้กู้ชำระหนี้เสร็จสิ้น จำนวน 433,583 คน (3)ผู้กู้ที่อยู่ระหว่างการชำระหนี้ จำนวน 3,059,633 คนและ (4) ผู้กู้เสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพ จำนวน 40,510คน โดยกลุ่มผู้กู้ที่อยู่ระหว่างการชำระหนี้มีเงินต้นที่ครบกำหนดชำระจำนวน 101,739.26 ล้านบาท